Algae bloom หรือที่รู้กันคือ ปรากฏการณ์น้ำเขียว ( ปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชั่น )
เกิดจากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของสาหร่าย(ไซยาโนแบคทีเรีย)ซึ่งเมื่อมีจำนวนมากเกินไป เมื่อสาหร่ายตาย เกิดการเคลื่อนที่ซ้อนทับกัน จะเน่าส่งกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง และในช่วงเวลากลางคืนสาหร่ายจะใช้ออกซิเจนในน้ำ จนเหลือน้อยมาก ทำให้ปลาตายจำนวนมาก
ซึ่งในหลายปีที่ผ่านมา ในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านเป็ด เกิดปรากฎการณ์ยูโทรฟิเคชั่น ในบึงกี และบึงหนองโคตร เป็นประจำทุกปี กินพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงอย่างมาก เป็นปัญหาที่ท้องถิ่นไม่อาจแก้ไขได้ด้วยตนเอง
เทศบาลตำบลบ้านเป็ด จึงได้หารือร่วมกับเครือข่าย คณะสาธารณสุขศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้ระดมความคิด วางแผนแก้ไขปัญหาดังกล่าวหลายครั้ง จึงได้ขอสรุปโดยกำหนดเป้าหมายร่วมกัน คือ “ ต้องทำให้บ้านเป็ดเป็น Model ในเชิงพื้นที่ ทั้งการแก้ไขปัญหา และ ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ” และได้ทดลองศึกษาวิจัยในบึงกี ที่ประสบปัญหาปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชั่น เช่นเดียวกับบึงหนองโคตร ก่อนขยายผลสู่บึงหนองโคตรต่อไป จึงได้จัดทำโครงการบ้านเป็ดรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันการเกิดปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชั่น (Eutrophication) ในแหล่งน้ำจืด ขึ้น
วันที่ 15 มกราคม 2562 ทต.บ้านเป็ด ร่วมกับ ผศ.ดร.อนุชนรา ตาลกุล คัสเธอร์ Mr. Anthony Charles Kuster ดร.ฤทธิรงค์ จันทร์โกฏิและทีมวิจัย คณะสาธารณะสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดเวทีคืนข้อมูลโครงการพัฒนาศักยภาพ ความเป็นเลิศ ในงานวิจัยด้านการฟื้นฟูและแก้ปัญหายูโทรฟิเคชันในแหล่งน้ำจืด “กรณีศึกษาบึงกี เทศบาลตำบลบ้านเป็ด “ ซึ่งได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ ของตัวอย่างน้ำและโคลนในบึงกีอย่างต่อเนื่อง เพื่อคืนข้อมูลผลการวิเคราะห์ และนำเสนอแนวทางการจัดการคุณภาพน้ำ ในบึงกี ป้องกันปัญหาจากปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชั่น(น้ำเขียว) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ซึ่งในหลายปีที่ผ่านมา ในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านเป็ด เกิดปรากฎการณ์ยูโทรฟิเคชั่น ในบึงกี และบึงหนองโคตร เป็นประจำทุกปี กินพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงอย่างมาก เป็นปัญหาที่ท้องถิ่นไม่อาจแก้ไขได้ด้วยตนเอง
เทศบาลตำบลบ้านเป็ด จึงได้หารือร่วมกับเครือข่าย คณะสาธารณสุขศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้ระดมความคิด วางแผนแก้ไขปัญหาดังกล่าวหลายครั้ง จึงได้ขอสรุปโดยกำหนดเป้าหมายร่วมกัน คือ “ ต้องทำให้บ้านเป็ดเป็น Model ในเชิงพื้นที่ ทั้งการแก้ไขปัญหา และ ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ” และได้ทดลองศึกษาวิจัยในบึงกี ที่ประสบปัญหาปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชั่น เช่นเดียวกับบึงหนองโคตร ก่อนขยายผลสู่บึงหนองโคตรต่อไป จึงได้จัดทำโครงการบ้านเป็ดรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันการเกิดปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชั่น (Eutrophication) ในแหล่งน้ำจืด ขึ้น
วันที่ 15 มกราคม 2562 ทต.บ้านเป็ด ร่วมกับ ผศ.ดร.อนุชนรา ตาลกุล คัสเธอร์ Mr. Anthony Charles Kuster ดร.ฤทธิรงค์ จันทร์โกฏิและทีมวิจัย คณะสาธารณะสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดเวทีคืนข้อมูลโครงการพัฒนาศักยภาพ ความเป็นเลิศ ในงานวิจัยด้านการฟื้นฟูและแก้ปัญหายูโทรฟิเคชันในแหล่งน้ำจืด “กรณีศึกษาบึงกี เทศบาลตำบลบ้านเป็ด “ ซึ่งได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ ของตัวอย่างน้ำและโคลนในบึงกีอย่างต่อเนื่อง เพื่อคืนข้อมูลผลการวิเคราะห์ และนำเสนอแนวทางการจัดการคุณภาพน้ำ ในบึงกี ป้องกันปัญหาจากปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชั่น(น้ำเขียว) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
1. ศึกษาความรู้ ข้อมูลพื้นฐาน และทำความเข้าใจปัญหาการเกิดยูโทรฟิเคชั่นในพื้นที่ และแนวทางการแก้ปัญหาเบื้องต้น จากอดีตถึงปัจจุบัน
2. หารือและแลกเปลี่ยนข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญในหน่วยเครือข่ายสิ่งแวดล้อมแต่ละแห่ง ได้แก่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 และ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดขอนแก่น
3. ประชุมทุกเครือข่ายเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา และกำหนดเป้าหมายร่วมกัน
ภาพผู้แทนเครือข่ายลงนามความร่วมมือ ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2562 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
4. จัดหาทรัพยากรร่วมกัน ได้แก่- คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มอบหมายให้ ผศ.ดร.อนุชนรา ตาลกุล คัสเธอร์ ดำเนินการศึกษาวิจัย และอนุมัติงบประมาณวิจัยจากคณะฯ จำนวน 160,000 บาท
- คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ค้นหาและประสานงานจากผู้เชี่ยวชาญตลอดจนค่าใช้จ่ายในการจัดหา จัดประชุมวิชาการและรับรองผู้เชี่ยวชาญ
- เทศบาลตำบลบ้านเป็ด สนับสนุนในส่วนของงบประมาณโครงการบ้านเป็ดรักษ์สิ่งแวดล้อม จำนวน 50,000 บาท และกำลังคน
5. ศึกษาวิจัยและวิธีควบคุมการเกิดยูโทรฟิเคชั่น บึงทดลองส่วนหนึ่งของบึงกี (ประมาณ 12 ไร่)
6. เก็บตัวอย่าง น้ำ ไซยาโนแบคทีเรีย และโคลน ทำการวิเคราะห์อย่างละเอียด ก่อนและหลัง
การทดลองเติมสารส้ม
7. สรุปผลการทดลองและคืนข้อมูลชุมชน
จากผลการทดลอง การควบคุมธาตุอาหารฟอสฟอรัสในบึงกี ในพื้นที่ 12 ไร่ แบบวิธีเติมสารส้ม (alum application) เพื่อดูดซับฟอสฟอรัส(phosphorus sorption) ทำให้จำนวนไซยาโนแบคทีเรียลดลงมาก ส่งผลให้ไม่เกิดปรากฏการณ์ ยูโทรฟิเคชั่น (น้ำเขียว) ไม่มีกลิ่นเหม็นจากการเน่าของไซยาโนแบคทีเรียและทำให้ ปลาตายน้อยลง
ประโยชน์ที่ได้รับ นอกจากจะสามารถป้องกันปัญหาระบบนิเวศของแหล่งน้ำ ลดการตายของสัตว์น้ำ ลดกลิ่นเหม็นจากการเน่าของสาหร่ายรวมถึงทัศนียภาพที่ไม่น่าดู อีกทั้งยังเป็นแนวทางแก้ปัญหาปรากฏการณ์ ยูโทรฟิเคชั่นให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ตลอดจนเป็นต้นแบบการจัดการปัญหาโดยอาศัยเครือข่ายอีกด้วย